TemiVR

TemiVR พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการเคลื่อนที่หุ่นยนต์บริการ (Temi) ด้วยลู่วิ่งรอบทิศทาง สำหรับเทคโนโลยีภาพเสมือน (KAT VR) สามารถจับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้แบบ Real-Time เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน Temi ในการควบคุมระยะไกลนอกเหนือจากการใช้ Web Application เพียงอย่างเดียวเท่านั้น สมาชิกผู้จัดทำ นักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม โครงการ Internship ปีการศึกษา 2565 จารุวรรณ วิจิตร์แสงสี ศศิกานต์ เจนพิทักษ์ชัย ศุภกร จารุจุณาวงศ์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้งานและพัฒนาระบบสำหรับควบคุมหุ่นยนต์ Temi เพื่อศึกษาการใช้งาน VR Treadmil (KAT Walk …

Tele-Operated Mobile Robot

จากการสำรวจพบว่ามีความต้องการบุคคลากร และองค์ความรู้ใหม่ในด้านหุ่นยนต์มากขึ้น รวมถึงผลกระทบของเหตุการณ์โควิด-19 ทำให้สื่อการการศึกษารูปแบบออนไลน์เหมาะสมกับการพัฒนาบุคคลากร และองค์ความรู้ในการศึกษาในวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งทำให้เกิดโครงงานสื่อการสอนออนไลน์เกี่ยวกับหุ่นยนต์ในหัวข้อ Tele-Operated Mobile Robot Platform งานวิจัยนี้นำเสนอเรื่องการควบคุมหุ่นยนต์เคลื่อนที่จากระยะไกลด้วยระบบออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแพลทฟอร์มการเรียนรูปแบบใหม่ที่ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทฤษฎีและปฏิบัติผ่านระบบ “Tele-Operated Mobile Robot Platform” โดยสามารถทดลองภาคปฏิบัติด้วยการส่งข้อมูลทางไกลไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและหุ่นยนต์เคลื่อนที่ สมาชิกผู้จัดทำ นักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม โครงการ WiL ปีการศึกษา 2564 นางสาวธัญญานินท์ อรุณจิระพัฒน์ นายนภัทร จันทร์บูรณ์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการควบคุมหุ่นยนต์ระยะไกล เพื่อออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ สามารถควบคุมได้จากระยะไกล เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้สำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่จากระยะไกล เพื่อประเมินการทำงานและการใช้งานของระบบการเรียนรู้สำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่จากระยะไกล ภาพรวมของการทำงาน เมื่อผู้ใช้งานเปิดหน้าเว็บไซต์ …

MASTERMIND METAVERSE

MASTERMIND METAVERSE คือเกมที่ให้ผู้เล่นจัดเรียงและตำแหน่งของสีให้ถูกต้อง โดยสามารถเล่นแบบ Multiplayer ได้ เมื่อเล่นแล้วมีการเปลี่ยนสีภายในเกมจะส่งค่าไปให้ตัวเครื่องในโลกจริงเปลี่ยนสีตามไปด้วย และเมื่อมีการเฉลยเกิดขึ้นจะมีระบบในการควบคุม Motor ในการเปิดเฉลย พร้อมด้วยระบบการ Streaming ให้สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกมาดูตัวเครื่องจริงที่อยู่ในตึก FIBO สมาชิกผู้จัดทำ 1.นักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม โครงการ WiL ปีการศึกษา 2565 ณัฐชนน เทวะวโรดม ณัฐวรา นาคีสถิตย์ รังสิมันต์ เอมโอช สัณห์ศิวัช เกื้อกูลสง สุพรรษา เทียนทอง กฤษฎา วิรัชมงคลชัย ชานน คำวิลัยศักดิ์ 2.นักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม …

การพัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์แสดงแบบจําลองสถานที่ในรูปแบบสามมิติของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทําให้มนุษย์ต้องเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ต้องกักตัวอยู่ในที่อยู่อาศัยและยกเลิกกิจกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบตามมา เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และโรคที่เกี่ยวกับความเครียด  เนื่องด้วยเหตุนี้จึงมีการนําเทคโนโลยีการจําลองสถานที่มาสร้างการท่องเที่ยวเสมือนจริงเพื่อเป็นช่องทางให้มนุษย์ได้รับข้อมูลและประสบการณ์เหมือนอยู่ในสถานที่จริงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สมาชิกผู้จัดทำ นายธราธร อัศวเดชเมธากุล โครงการ วมว. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ปีการศึกษา 2564 นางสาวนภัสนันท์ บัวสมบุญ โครงการ วมว. โรงเรียนดรุรสิกขาลัย ปีการศึกษา 2564 นายพณพจน์ หงส์อัครพันธุ์ โครงการ วมว. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ปีการศึกษา 2564 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการสร้างโมเดลสามมิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ …

การพัฒนาเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน

ปัจจุบันแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มนุษย์นิยมเลี้ยง ซึ่งแมวจะมีพฤติกรรมกินอาหารถี่ตลอดทั้งวัน และยังมีการใช้พลังงานสูงในช่วงกลางคืน แต่เนื่องจากผู้เลี้ยงแมวหลายท่านอาจมีข้อจํากัดในด้านเวลาและสถานที่ทําให้ไม่สามารถให้อาหารแมวได้ตามเวลาและปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงไม่สามารถรับรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของแมวในช่วงเวลาที่ผู้เลี้ยงไม่อยู่บ้าน ดังนั้นการพัฒนาเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติที่สามารถควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชันจะช่วยให้ผู้เลี้ยงมีความสะดวกสบายมากขึ้น สมาชิกผู้จัดทำ นางสาวณภัทร เสรีรักษ์ โครงการ วมว. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ปีการศึกษา 2564 นางสาวภาวิดา ผุสดีโสภณ โครงการ วมว. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ปีการศึกษา 2564 นายสิงหา จุลจันทร์ โครงการ วมว. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ปีการศึกษา 2564 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติแบบควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชันได้ เพื่อศึกษาผลการทํางานของเครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการใช้งานโดยกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน ภาพรวมของการทำงาน เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัตินี้สามารถควบคุมผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งพัฒนาโดยใช้เครื่องมือ …

Design and Develop an Interactive Virtual Aquarium

การวาดภาพละเลงสีเป็นหนึ่งในกิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และช่วยฝึกประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา รวมถึงการแสดงออกทางความคิด ถ้าหากว่ารูปที่วาดนั้นสามารถเคลื่อนไหวและมีมิติได้ ก็จะสามารถเติมเต็มจินตนาการให้กับผู้วาดได้ไปอีกขั้น ผู้จัดทำจึงได้จัดทำงานวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อเติมเต็มจินตานาการและให้ความบันเทิงกับผู้เล่น ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ได้แสดงออกทางความคิดในหลาย ๆ ด้าน สมาชิกผู้จัดทำ นางสาวณัฏฐณิชา ศรสุวรรณรังสี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2564 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบ Interactive Virtual Aquarium เพื่อประเมินผลการใช้งานระบบ Interactive Virtual Aquarium ที่จะช่วยเติมเต็มจินตนาการและสร้างความบันเทิงของผู้เล่น ภาพรวมของการทำงาน วิธีการเล่น ผู้เล่นเลือกภาพสัตว์ทะเลที่ชอบตามที่ได้เตรียมไว้มา 1 ชนิดจากทั้งหมด 3 ชนิดแล้วให้ผู้เล่นระบายสี เมื่อผู้เล่นระบายสีเสร็จแล้ว …

อุปกรณ์อำนวยความสะดวกด้วยระบบรู้จำท่าทางมือสำหรับคนตาบอด

จำนวนคนตาบอดในปัจจุบันที่มีค่อนข้างมากสามารถนำไปสู่ปัญหาการคลาดแคลนแรงงานในอนาคตได้ อีกปัญหาที่พบก็คือคนตาบอดที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หรือดูแลตัวเองได้ไม่ดีนัก โดยทั่วไปหลายครอบครัวมักจะจ้างผู้ดุแล แต่ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะดูได้อย่างใกล้ชิด ผู้จัดทำจึงได้คิดค้นอุปกรณ์ที่ที่จะมาช่วยแก้ปัญาหาเหล่านี้ อุปกรณ์ที่สามารถสั่งการด้วยเสียงหรือท่าทางมือ ช่วยแจ้งเตือนยามเกิดเหตุฉุกเฉิน สมาชิกผู้จัดทำ นางสาวชญานิศ ราโอบ โครงการ วมว. ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย นางสาวชนิษฐา ราโอบ โครงการ วมว. ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย นางสาวปวันรัตน์ จุลพล โครงการ วมว. ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับคนตาบอดด้วยระบบจำท่าทางมือ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับคนตาบอด ภาพรวมของการทำงาน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับคนตาบอดถูกออกแบบมาในรูปของสร้อยคอ …

Enjoy Sheeping

เทคโนโลยี Augmented Reality หรือ AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริงโดยผ่านการเชื่อมต่อด้วยซอฟแวร์ร่วมกับฮาร์ดแวร์ ทำให้เห็นภาพที่ปรากฎอยู่บนจอเป็นภาพสามมิติลอยอยู่เหนือผืนผิวจริง เทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครือข่ายออนไลน์ ทำให้ไม่ว่าอุปกรณ์จะอยู่ที่ไหนก็จะยังสามารถเชื่อมต่อกันได้อยู่ตลอด ผู้จัดทำจึงได้นำเทคโนโลยีทั้งสองมาสร้างสรรค์ผลงานที่ชื่อว่า Enjoy Sheeping สมาชิกผู้จัดทำ วัตถุประสงค์ เนื่องจากในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดทำให้ไม่สามารถไปออกกำลังกายในที่สาธารณะได้ แต่การออกกำลังกายที่บ้านก็อาจจะทำให้รู้สึกน่าเบื่อ ผู้จัดทำจึงคิดที่จะเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีความเข้าใจในเทคโนโลยี AR และ IoT มากขึ้น ภาพรวมของการทำงาน การนำสนอผลการออกแบบ …

TeleRobot

ในการออกแบบโครงสร้างอาคารนั้นจะต้องคำนึงถึง การใช้งาน รูปแบบที่เป็นเอกลักษ์ และที่สำคัญที่สุดก็คือความปลอดภัยของโครงสร้างที่จะคอยรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่าง ๆ ในงานทางด้านสถาปัตยกรรมการออกแบบโครงสร้างนั้นจะต้องได้รับการทดสอบว่ามีความทนทานต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวหรือไม่ ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะศึกษาและพัฒนาโปรแกรมที่สามารถออกแบบและจำลองการเกิดแผ่นดินไหวได้ สมาชิกผู้จัดทำ นายธนภัทร อัศวนภานนท์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน นายสายฟ้า มีทอง โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในภาควิชาสถาปัตยกรรม ในการจำลองโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในสถานการณ์แผ่นดินไหว ใช้เป็นสื่อการสอนพื้นฐานสำหรับเยาวชนที่สนใจในเรื่องโครงสร้างและการออกแบบอาคารได้ทดลองและศึกษาผ่านทางโปรแกรม ภาพรวมของการทำงาน ใช้ MQTT Dashboard ส่งข้อมูลไปที่ MQTT cloud และส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมโปรแกรม Unity การนำเสนอผลการออกแบบ Flow Chart ของระบบ ตัวอย่างโค้ดที่ใช้เขียน ผลการทดลอง Tele …

AR Chemistry

ในการเรียนวิชา Chemistry ผู้เรียนหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นวิชาที่เรียนแล้วเข้าใจยาก เนื่องจากตำราเรียนมีลักษณะเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งอาจจะทำให้เห็นภาพโครงสร้างสารเคมีไม่ชัดเจน ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจโครงสร้างและมองเห็นภาพรวมของโครงสร้างสารเคมีได้มากขึ้น เห็นภาพรวมของโครงสร้างเคมี เข้าใจการเกิดสารประกอบมากขึ้น สนุกไปกับการเรียน สมาชิกผู้จัดทำ นายพุฒิพงศ์ เกียรติวุฒิ โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ภูริวัจน์ ตั้งฐิติสันต์ โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ศุภิสรา วงศ์พัฒนกิจ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาด้าน AR ให้เป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการผลิตสื่ออิเลกทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจการทำงานของธาตุต่างๆ ได้ สามารถเห็นภาพพร้อมทั้งเข้าใจการทำงานได้มากยิ่งขึ้น ภาพรวมของการทำงาน แอปพลิเคชันนี้สามารถใช้งานได้ทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ โดยที่จะสร้างธาตุทั้งหมด 3 ธาตุ คือ …