AR Chemistry


ในการเรียนวิชา Chemistry

ผู้เรียนหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นวิชาที่เรียนแล้วเข้าใจยาก

เนื่องจากตำราเรียนมีลักษณะเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งอาจจะทำให้เห็นภาพโครงสร้างสารเคมีไม่ชัดเจน ผู้จัดทำจึงได้คิดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจโครงสร้างและมองเห็นภาพรวมของโครงสร้างสารเคมีได้มากขึ้น

เห็นภาพรวมของโครงสร้างเคมี
เข้าใจการเกิดสารประกอบมากขึ้น
สนุกไปกับการเรียน

สมาชิกผู้จัดทำ

  1. นายพุฒิพงศ์ เกียรติวุฒิ โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก
  2. ภูริวัจน์ ตั้งฐิติสันต์ โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก
  3. ศุภิสรา วงศ์พัฒนกิจ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาด้าน AR ให้เป็นสื่อการเรียนการสอน
  • เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการผลิตสื่ออิเลกทรอนิกส์
  • ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจการทำงานของธาตุต่างๆ ได้ สามารถเห็นภาพพร้อมทั้งเข้าใจการทำงานได้มากยิ่งขึ้น

ภาพรวมของการทำงาน

แอปพลิเคชันนี้สามารถใช้งานได้ทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ โดยที่จะสร้างธาตุทั้งหมด 3 ธาตุ คือ ไฮโดรเจน(H) , ออกซิเจน(O) , และคาร์บอน(C) และสามารถนำธาตุทั้ง 3 ธาตุมาสร้างเป็นสารประกอบใหม่ได้ 4 ชนิด คือ น้ำ , ก๊าซออกซิเจน , คาร์บอนมอนอกไซด์ , และคาร์บอนไดออกไซด์

การนำเสนอผลการออกแบบ

แผนผังการทำงานโดยรวมของระบบ

การออกแบบโมเดลของอะตอม โดยใช้โปรแกรม Unity จะวางด้วยระบบ Parents and Children ใช้ทรงกลมใหญ่แทนตัวของธาตุ วงกลมสีแดงเล็กแทนอิเล็กตรอนชั้นสุดท้ายของธาตุ ทรงกระบอกแทนพันธะของธาตุ และมีการบอกลักษณะของธาตุ สัญลักษณ์ จุดเดือด จุดเยือกแข็งและสถานะ

การทำ AR จะใช้ Vuforia ทำงานร่วมกับ Unity โดย Import package Vuforia

  • เพิ่ม Licence Key
  • เพิ่ม Game object และเปลี่ยน Main camera เป็น AR camera
  • เพิ่ม Game object คือ Image target เพื่อให้ AR ปรากฏขึ้นมา ซึ่งในที่นี้ก็คือ ELEMENT MODEL CREATE ที่สร้างขึ้นมา
  • เปลี่ยน Maker โดยใช้ Maker ที่สร้างขึ้นมาใหม่
  • สามารถ Build App ด้วยโทรศัพท์และ PC ได้

ผลการทดลอง

QR Code

การทำงานของแอปพลิเคชัน

0:00
0:00

สรุปผลการทดลอง

  • การจับภาพของกล้องเกิดความผิดพลาดในบางครั้ง คาดว่าเกิดจาก Marking ที่มีลักษณะคล้ายกัน
  • ในโทรศัพท์บางรุ่นนั้นกล้องไม่สามารถ Autofocus เองได้ จึงต้องเขียนโค้ดสั่งให้กล้องปรับเป็น Autofocus
  • โปรแกรมค่อนข้างไม่เสถียร

การวางแผนพัฒนาต่อ

  • เพิ่มชนิดของธาตุและสารประกอบ
  • ออกแบบหน้าแอปพลิเคชันให้สวยงามและมีฟังก์ชันที่มากยิ่งขึ้น
  • ออกแบบโมเดลให้สวยงาม
  • สามารถใส่ข้อมูลรายละเอียดของธาตุเพิ่มได้