ในปัจจุบัน เทคโนโลยีเริ่มมีความก้าวหน้าและมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งผลทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบาย และวิทยาการเหล่านี้ยังมีความสามารถที่จะทำงานที่ไม่เหมาะกับมนุษย์ เพื่อให้ผลที่ออกมามีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โครงงานนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างระบบสำหรับใช้ในการนำเสนอผลงานและงานวิจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน HCI Lab ของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามได้โดยอัตโนมัติ เมื่อมีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมผลงานและงานวิจัยชิ้นต่าง ๆ ภายในห้องแล็บ โดยที่มนุษย์ไม่จำเป็นต้องออกมานำเสนอเองทุกครั้ง ซึ่งระบบจะใช้หลักการ Image Processing ในการตรวจจับ โดยระบบดังกล่าวจะใช้ Raspberry Pi 3 B + และ Camera Pi V2 ในการรับค่าข้อมูลเป็นภาพ ซึ่งจะใช้ OpenCV ในการประมวลผลภาพ ซึ่งจะประมวลผลหาคนภายในภาพที่กล้องตรวจจับได้ (Face Detect) ถ้าระบบสามารถตรวจจับคนในภาพได้ ระบบจะดำเนินการแสดงผล โดยในการแสดงผล สามารถแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบตามที่ผู้ใช้งานต้องการ เช่น ภาพ เสียง เป็นต้น โดยในโครงงานนี้ จะเลือกใช้ ESP8266 และหน้าจอทีวีในการแสดงผลโดยสำหรับ ESP8266 จะรับคำสั่งจาก Raspberry Pi ในรูป Text File ผ่าน MQTT Cloud Server เมื่อได้รับคำสั่ง ESP8266 จะสั่งให้ Relay ทำงาน ซึ่ง Relay จะไปสั่งอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำหน้าที่แสดงผลต่อไป และสำหรับ หน้าจอทีวี จะทำการเล่นคลิปวีดิโอ เพื่อนำเสนอผลงาน
สมาชิก
ขิตตฬา สุวรรณมาโจ
ม.5 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พลวัฒน์ อาจปักษา
ม.5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
วิภพ ปัญญาทิพย์สกุล
ม.5 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด พิษณุโลก
ทักษ์ดนัย ศิริสมบัติ
ม.4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างระบบนำเสนอผลงานอัตโนมัติสำหรับ HCI lab
- เพื่อลดภาระในการนำเสนอผลงานแบบซ้ำ
- เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของการนำเสนอผลงาน
ผลการทำงานที่คาดหวัง
- ทำให้การนำเสนอผลงานมีประสิทธิภาพ และมีความถูกต้อง
- ทำให้การนำเสนอผลงานมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
ขอบเขตการศึกษา
- ภาษา Python
- การตรวจจับใบหน้ามนุษย์แบบไม่แแยกแยะ
- ระบบการทำงานบน Raspberry
- การรับส่งค่าบนระบบออนไลน์และออฟไลน์
- การแสดงผลผ่านบนเว็บไซต์