แอปพลิเคชันค้นหาสูตรอาหารด้วยวัตถุดิบ

แอปพลิเคชันค้นหาสูตรอาหารด้วยวัตถุดิบ

อาหารประกอบด้วยวัตถุดิบมากมายและมีวิธีการทำที่ลากหลาย การจะค้นหาสูตรอาหารนั้นทำได้ไม่ง่ายนักนอกจากเปิดตำราหรือค้นหาโดยใช้ชื่อวัตถุดิบหลักบางส่วน ซึ่งผลการค้นหาจำนวนหนึ่งอาจจะไม่ตรงวัตถุประสงค์ ผู้จัดทำจึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถค้นหาสูตรอาหารได้ด้วยชื่อวัตถุดิบ โดยจะบอกเมนูที่สามารถประกอบอาหารได้จากวัตถุดิบที่มีโดยไม่ต้องซื้อวัตถุดิบเพิ่ม และยังสามารถติดตั้งบนสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการณ์ Android และ iOS

สมาชิกผู้จัดทำ

นางสาวนนทิชา หลิมศิโรรัตน์ โครงการ วมว. โรงเรียนดรุณสิกขาลัย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษาการสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถค้นหาสูตรอาหารจากชื่อวัตถุดิบด้วยเว็บไซต์ Thunkable
  • เพื่อสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้แบบออฟไลน์ โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งระบบปฏิบัติการณ์ Android และ iOS

ภาพรวมของการทำงาน

ขั้นตอนการทำงาน

ส่วนที่ 1 ระบบการรับข้อมูลวัตถุดิบจากผู้ใช้งาน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • การรับข้อมูลสำหรับการใช้งานครั้งเดียว (ข้อมูลประเภทที่ 1) จะให้ผู้ใช้งานเลือกวัตถุดิบโดยการกดเครื่องหมายถูกผิด โดยเครื่องหมายถูกแปลว่ามีวัตถุดิบ และเรื่องหมายผิดหมายถึงไม่มีวัตถุดิบ ซึ่งข้อูลที่กรอกจะถูกนำมาประมวลผลเพียงครั้งเดียวและไม่ถูกบันทึกในระบบ
  • การรับข้อมูลสำหรับบันทึกข้อมูลในระบบ (ข้อมูลประเภทที่ 2) จะให้ผู้ใช้งานกรอกจำนวนหรือปริมารของวัตถดิบนั้น ๆ ที่ผู้ใช้งานมี โดยจำนวนที่กรอกจะถูกบันทึกในรูปแบบของตาราง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถแสกน QR Code เพื่อกรอกวัตถุดิบแต่ละตัวได้โดยไม่ต้องเลื่อนค้นหาที่หน้ากรอกข้อมูลหลัก

ส่วนที่ 2 ระบบประมวลผล จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  • ระบบประมวลผลหลัก แบ่งออกเป็นส่วนของตารางและส่วนของคำสั่ง โดยส่วนของตารางจะมีทั้งหมด 3 แถวที่ใช้ในขั้นตอนนี้ แถวแรกคือชื่อเมนูที่มีในระบบ แถวที่ 2 คือจำนวนวัตถุดิบทั้งหมด และแถวที่ 3 คือจำนวนวัตถุดิบที่ผู้ใช้งานมีซึ่งสามารถนำไปทำเมนูนั้นได้ โดยข้อมูลเริ่มต้นของแถวที่ 3 ทั้งหมดมีค่าเป็น 0
  • ระบบประมวลผลข้อมูลประเภทที่ 1 จะช้คำสั่ง if และคำสั่ง get value ในการทำงาน โดยถ้าหากผู้ใช้งานได้กดเลือกวัตถุดิบนั้น ๆ ระบบจะดำเนินการต่อโดยการบวก 1 ในตารางแถวที่ 3 ในช่องของเมนูที่วัตถุดิบนั้นใช้ประกอบอาหาร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่ได้เลือกวัตถุดิบ ระบบจะดำเนินการต่อในส่วนของวัตถุดิบถัดไป
  • ระบบประมวลผลข้อมูลประเภทที่ 2 ใช้คำสั่ง if ในการทำงาน โดยดึงข้อมูลจากจำนวนวัตถุดิบที่ผู้ใช้งานได้บันทึกในระบบไว้ ถ้าจำนวนวัตถุดิบมีเพียงพอในการประกอบเมนูนั้น ๆ ระบบจะดำเนินการต่อ โดยบวก 1 ในตารางแถวที่ 3 ในช่องของเมนูที่ใช้วัตถุดิบนั้นในการประกอบอาหาร แต่ถ้าหากวัตถุดิบนั้น ๆ มีไม่พอระบบจะไม่บวก 1 ลงในตาราง

ส่วนที่ 3 ระบบแสดงผล

  • เมื่อได้ข้อมูลวัตถุดิบจากตารางแถวที่ 4 ซึ่งเป็นข้อมูลจำนวนวัตถุดิบที่ผู้ใช้งานใช้สำหรับการประกอบเมนูนั้น ๆ มาแล้ว ระบบจะเรียงลำดับจากเมนูที่ผู้ใช้งานต้องซื้อวัตถุดิบเพิ่มจำนวนน้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด โดยระบบจะเขียนลำดับไว้ในแถวที่ 5
  • ในการแสดงผลจะแบ่งออกเป็นการแสดงผลสรุปภาพและปุ่มนำทางสำหรับไปที่หน้าวิธีการทำเมนูนั้น ๆ โดยเมื่อแสดงผล ระบบจะดึงลำดับที่บันทึกในตารางแถวที่ 5 มาใช้งานเพื่อการใส่รูปภาพและนำทางที่ถูกต้อง

ผลการออกแบบ

แอปพลิเคชันนี้จะเริ่มต้นที่ปุ่ม 2 ปุ่มโดยให้ผู้ใช้งานเลือกระหว่างไปสู่หน้าค้นหาหรือหน้าบันทึกวัตถุดิบในระบบ

  • หน้าค้นหาวัตถุดิบจะแบ่งเป็นใช้ข้อมูลจากที่บันทึกในระบบหรือเลือกเลือกวัตถุดิบใหม่ เมื่อกดปุ่มตกลงระบบจะดำเนินการประมวลผลและแสดงผลให้หน้าถัดไป โดยเมื่อผู้ใช้งานกดปุ่มทำอาหารในเมนูนั้น ๆ ระบบจะนำผู้ใช้งานไปสู่หน้าวิธีทำของเมนูที่ผู้ใช้งานเลือก ส่วนปุ่มสุดท้ายในหน้าแสดงผลจะเป็นปุ่มกลับหน้าแรกเพื่อกลับไปที่หน้าเริ่มต้นของแอปพลิเคชัน
  • หน้าบันทึกในระบบผู้ใช้งานสามารถกรอกปริมาณและจำนวนของวัตถุดิบที่ได้และกดปุ่มบันทึก เพื่อบันทึกข้อมูลลงในระบบของแอปพลิเคชัน ผู้ใช้งานสามารถกดที่ปุ่มแสกน QR Code เพื่อแสกนและกรอกปริมาณหรือจำนวนวัตถุดิบโดยเฉพาะ
  • ในการทดสอบระบบได้ให้ผู้ทดสอบจำนวน 10 คน คละช่วงอายุ เป็นผู้ชาย 5 คน และู้หญิง 5 คน ทดลองใช้งานแอปพลิเคชันและประเมิณผลการทำงานของแอปพลิเคชัน โดยระดับความพึงพอใจ มากที่สุด คือ 5 , มาก คือ 4 , ปานกลาง คือ 3 , น้อย คือ 2 , น้อยที่สุด คือ 1

สรุปผลการทดลอง

ผู้พัฒนาได้สร้างแอปพลิเคชันค้นหาสูตรอาหารด้วยวัตถุดิบ ซึ่งภายในแอปพลิเคชันมีเมนูทั้งหมด 9 เมนูและวัตถุดิบ 37 อย่าง โดยแอปพลิเคชันสามารถค้นหาและแสดงผลเรียงเมนูจากอาหารที่สามารถประกอบได้โดยไม่ต้องซิ้อวัตถุดิบเพิ่มหรือซื้อเพิ่มในปริมาณท่ี่น้อยที่สุดไปจากมากที่สุดตามลำดับ และจากการประเมิณการทำงานของแอปพลิเคชันจากผู้ใช้ 10 คน ได้ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.1 ซึ่งสามารถตีความได้ว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์มากค่อนไปทางมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

  • เพิ่มเมนูและวัตถุดิบเพียงให้มีความหลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
  • เพิ่มรายละเอียดในส่วนของวิธีทำและวิดีโอสอนทำแต่ละเมนู
  • ปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น คำอธิบายในการใช้งาน หรือใช้รูปภาพประกอบเพื่อลดความสับสนขณะใช้งาน